คอหวยลุ้นตัวเลข "นายกฯปู" หวังเสี่ยงโชค
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 11:08 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ว่าวันนี้ (15 ก.พ.) ซึ่งเป็นการปฏิบัติภารกิจวันที่ 3
ที่จังหวัดเชียงใหม่ ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เป็นประธานเปิดโครงการ
ผลิตก๊าซชีวภาพอัดเพื่อการคมนาคมแห่งแรกของประเทศไทย ที่ บริษัท
ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) อ. แม่แตง
จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการผลิตก๊าซชีวภาพอัดความดันสูงจากฟาร์มสุกร
โดยมีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
รมว.พลังงาน ร่วมงาน
ภายหลังเปิดงาน นายกรัฐมนตรีได้ทดลองนั่งรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ CBG ทะเบียน ขจ 8599 เชียงใหม่ โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ เป็นคนขับ สร้างความฮือฮาอีกครั้งให้กับนักเสี่ยงโชค ที่แห่กันถ่ายรูปและจดทะเบียนรถคันดังกล่าวเพื่อไปเสี่ยงดวงซื้อหวยอีกครั้ง ทั้งนี้ในการลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติภารกิจ จังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 13-15 ก.พ.ได้รับความสนใจจากบรรดาคอหวยที่คอยติดตามทั้งทะเบียนรถทุกคันที่นายก รัฐมนตรีนั่ง รวมทั้งอายุของนายกฯ และหมายเลขต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปเสี่ยงโชค
โครงการพัฒนาก๊าซชีวภาพอัด (CBG) เพื่อการคมนาคม จากฟาร์มสุกร แห่งแรกในประเทศไทย ที่ อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ เป็นความร่วมมือระหว่างกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบริษัทยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาเกี่ยวกับการนำก๊าซชีวภาพจากมูลสุกรไปใช้ประโยชน์ในรูปของ ไบโอมีเทนอัด หรือ CBG โดยการนำก๊าซชีวภาพมาปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV/CNG) แล้วอัดที่แรงดัน 250 บาร์เกจ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ โดยโครงการนำร่อง ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ นี้ มีวัตถุดิบ 2 ส่วน ได้แก่ มูลสุกรจากฟาร์ม ประมาณวันละ 10-12 ตัน ผสมกับน้ำทิ้งจากฟาร์ม 200 ลบ.ต่อวัน และหญ้าเลี้ยงช้างหมัก ประมาณ 20-23 ตันต่อวันในการผลิต
โดยทางโครงการตั้งเป้าว่าจะสามารถผลิต CBG ได้วันละ 6 ตัน เทียบเท่ากับการเติมรถขนาดเล็กได้ 500 คันต่อวัน รถขนส่งขนาดใหญ่ได้ 40 คันต่อวัน ซึ่งสามารถลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ประมาณปีละ 2.2 ล้านลิตร
ส่วนผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ คือการตอบสนองนโยบายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน 15 ปี ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ให้เป็นร้อยละ 25 ในปี 2564 เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในการปลูกหญ้าเลี้ยงช้าง และลดของเสียจากฟาร์มสุกร.
ภายหลังเปิดงาน นายกรัฐมนตรีได้ทดลองนั่งรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ CBG ทะเบียน ขจ 8599 เชียงใหม่ โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ เป็นคนขับ สร้างความฮือฮาอีกครั้งให้กับนักเสี่ยงโชค ที่แห่กันถ่ายรูปและจดทะเบียนรถคันดังกล่าวเพื่อไปเสี่ยงดวงซื้อหวยอีกครั้ง ทั้งนี้ในการลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติภารกิจ จังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 13-15 ก.พ.ได้รับความสนใจจากบรรดาคอหวยที่คอยติดตามทั้งทะเบียนรถทุกคันที่นายก รัฐมนตรีนั่ง รวมทั้งอายุของนายกฯ และหมายเลขต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปเสี่ยงโชค
โครงการพัฒนาก๊าซชีวภาพอัด (CBG) เพื่อการคมนาคม จากฟาร์มสุกร แห่งแรกในประเทศไทย ที่ อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ เป็นความร่วมมือระหว่างกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบริษัทยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาเกี่ยวกับการนำก๊าซชีวภาพจากมูลสุกรไปใช้ประโยชน์ในรูปของ ไบโอมีเทนอัด หรือ CBG โดยการนำก๊าซชีวภาพมาปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV/CNG) แล้วอัดที่แรงดัน 250 บาร์เกจ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ โดยโครงการนำร่อง ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ นี้ มีวัตถุดิบ 2 ส่วน ได้แก่ มูลสุกรจากฟาร์ม ประมาณวันละ 10-12 ตัน ผสมกับน้ำทิ้งจากฟาร์ม 200 ลบ.ต่อวัน และหญ้าเลี้ยงช้างหมัก ประมาณ 20-23 ตันต่อวันในการผลิต
โดยทางโครงการตั้งเป้าว่าจะสามารถผลิต CBG ได้วันละ 6 ตัน เทียบเท่ากับการเติมรถขนาดเล็กได้ 500 คันต่อวัน รถขนส่งขนาดใหญ่ได้ 40 คันต่อวัน ซึ่งสามารถลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ประมาณปีละ 2.2 ล้านลิตร
ส่วนผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ คือการตอบสนองนโยบายตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน 15 ปี ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ให้เป็นร้อยละ 25 ในปี 2564 เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในการปลูกหญ้าเลี้ยงช้าง และลดของเสียจากฟาร์มสุกร.
0 ความคิดเห็น: